การแห่เทียนเข้าพรรษา เป็นงานประเพณีที่จัดกันอย่างกว้างขวางในทุกๆ พื้นที่ของประเทศ สืบทอดกันมายาวนานจนไม่สามารถบอกได้แล้วว่างานแห่เทียนพรรษาเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไร หรือที่ไหนในประเทศไทยของเรา
โดยในก่อนวันเข้าพรรษาชาวพุทธจะนำเทียนไปถวายที่วัด มีตั้งแต่เทียนขนาดเล็กๆ ส่วนตัว ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ต้องใช้รถมาแห่ เรียกว่าจัดงานกันอย่างยิ่งใหญ่เป็นประเพณีประจำจังหวัดของหลายๆ จังหวัด แต่ละจังหวัดก็มีจุดเด่นความสวยงามต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่
“วันเข้าพรรษา” วันจำพรรษาของพระสงฆ์ เช็กหลักธรรม-กิจกรรมพุทธศาสนิกชนทำได้
วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา 2566 ตรงกับวันที่เท่าไร ถือเป็นวันหยุดไหม ทำไมบางบริษัทไม่ได้หยุด
สำหรับเมืองกรุงเก่าอยุธยา ก็มีประเพณีการแห่เทียนพรรษาที่โดดเด่น คือ “งานประเพณีแห่เทียนทางน้ำที่ลาดชะโด” ที่ชาวบ้านจะนำเทียนพรรษาแห่ไปบนเรือเป็นขบวนบริเวณริมคลองลาดชะโดอย่างยิ่งใหญ่ จนเป็นเอกลักษณ์ของชาวอยุธยาที่หลายคนรู้จัก
วัฒนธรรมชาวอยุธยาสืบสานศรัทธาแห่งสายน้ำ
ก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะช่วยกันหล่อเทียนพรรษา แกะสลักประดับประดาเรือแห่ให้สวยงามด้วยดอกไม้และวัสดุต่างๆ ที่พอจะหากันได้ โดยจะมีการประกวดเรือเทียนพรรษา 3 ประเภทด้วยกัน คือ เรือสวยงาม, เรือวรรณคดี และ เรือวิถีชีวิต แต่ละประเภทจะมีเรือเข้าร่วมประกวดจากชาวบ้านจำนวนมาก นอกจากนี้ก็ยังมีการประกวดบ้านเรือนริมคลองลาดชะโด ตกแต่งด้วยข้าวของเครื่องใช้ของชาวบ้านในอดีตด้วย
หลังจากนั้นเมื่อถึงวันแห่เทียนเข้าพรรษา ชาวบ้านจะเริ่มแห่เรือเทียนพรรษา โดยบนเรือแต่ละลำจะมีนางฟ้าเทพธิดาเทียนนั่งมาในเรือแห่ ล่องลำน้ำกันไปอย่างเป็นระเบียบ ไปตามลำคลองบางคี่ บริเวณตลาด 100 ปี ลาดชะโด ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร แล้วแห่กลับมายังตลาดลาดชะโด
ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำ จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแห่เรือเทียนพรรษาแล้ว ในตอนเย็นจะมีการละเล่นและการแสดงต่างๆ ให้ดูกันอีกด้วย ได้แก่ ชกมวยทะเล การแสดงแสง สี เสียง ฯลฯ
กำเนิดเทียนพรรษาคำพูดจาก สล็อต777
เชื่อกันว่าจุดเริ่มต้นของการมีเทียนเข้าพรรษา เริ่มมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่นับถือวัว เพราะถือว่าวัวเป็นพาหนะของพระอิศวร (พระศิวะ) ซึ่งเมื่อวัวตาย จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเคารพ
ชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธ จึงใช้วิธีการเดียวกัน แต่เอารังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง แล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ ตามความยาวที่ต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็นศอก แล้วใช้จุดบูชาพระรัตนตรัยที่เราเคารพแทน ต่อมาเมื่อถึงฤดูกาลที่พระสงฆ์ต้องจำพรรษา ชาวพุทธจึงนิยมทำเทียนเล่มใหญ่ๆ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้ตลอด 3 เดือน ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นประเพณี และในบางพื้นที่ก็มีการจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ แห่ทางรถบ้าง หรือทางน้ำเหมือนอย่าง “ประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด”
ความสำคัญของการแห่เทียนพรรษา
ในอดีตเมื่อพระสงฆ์ต้องจำพรรษาอยู่ที่วัดหรือสถานที่คุ้มฝนที่ใดที่หนึ่งตลอดฤดูฝน ท่านจะไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงช่วยกันหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เรียกว่า “เทียนพรรษา”
นอกจากจะเป็นถวายพระภิกษุสงฆ์ เพื่อให้ท่านได้มีแสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือนแล้วนั้น ยังมีความเชื่ออีกว่าการถวายเทียนจะช่วยให้ตัวเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจแสงสว่างของดวงเทียนได้อีกด้วย
แห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด เริ่ม 1 ส.ค.นี้
โดยในปีนี้จะจักงานประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด ในวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 ถือเป็นครั้งที่ 12 ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ได้ร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทยกันมาอย่างต่อเนื่อง
ภายในงานจะมีกิจกรรมหลากหลายให้พุทธศาสนิกชนได้ทำกัน ได้แก่
- ชมวิถีชีวิตริมสองฝั่งคลอง สัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น
- เส้นทางสายน้ำแห่งชีวิต การยกยอ ท้องทุ่งนาที่เขียวขจี
- ชมขบวนเรือแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ตกแต่งสร้างสรรค์อย่างสวยงาม
- ชม ช้อป แช๊ะ อาหารพื้นบ้าน ณ ตลาดลาดชะโด
- การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านลาดชะโด
- ช่วงค่ำ ชมการแสดง แสง สี เสียง อัตลักษณ์และวิถีชีวิตชาวลาดชะโด
ทั้งนี้สามารถเช็กแผนที่ของงาน และจุดจอดรถได้ ดังภาพด้านล่างนี้
คำควายเทียนเข้าพรรษา
สำหรับใครที่ตั้งจิตอธิษฐานจะถวายเทียนพรรษา หรือไปร่วมประเพณีแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด จังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ เราได้นำคำกล่าวถวายเทียนพรรษามาฝากกัน ดังนี้
"อิมัง ภันเต พุทธะปูชายะ วัสสะคะตัง ปะทีปัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง วัสสะคะตัง ปะทีปัง ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัญจะ มาตา ปิตุ อาทีนัญจะ เปตานัง สัพพะวัญจะ อัมหากัญจะ เทวะตานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ"
"ข้าแด่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งเทียนประจำพรรษาคู่นี้พร้อมกับของบริวาร ไว้ ณ อุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษา แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งเทียนประจำพรรษาเล่มนี้ เพื่อเป็นประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดจน บิดา มารดา และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าที่ล่วงลับไปแล้ว กับเทพเจ้าทั้งหลายทั้งปวงด้วยสิ้นกาลนานเทอญ"
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), กรมประชาสัมพันธ์, ประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ เฟซบุ๊ก งานแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ลาดชะโด
“ตักบาตรดอกเข้าพรรษา” ประเพณีเก่าแก่หนึ่งเดียวในโลกที่จังหวัดสระบุรี
"ข้าวต้มมัด" ขนมมงคลของคู่รัก รับเทศกาล "วันเข้าพรรษา 2566"