เมื่อวานนี้เกิดความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของสถานการณ์ความขัดแย้งคาบสมุทรเกาหลี หลังประธานาธิดบีสหรัฐฯ โจ ไบเดน และประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ยุน ซ็อกยอล ประกาศความร่วมมือครั้งใหญ่ ยกระดับการป้องปรามภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ
โดยภายใต้ข้อตกลงที่ใช้ชื่อว่า “ปฏิญญาวอชิงตัน” (Washington Declaration) นี้ สหรัฐฯ จะดำเนินการส่ง “เรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์” และยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ไปคอยแวะเวียนเยี่ยมเกาหลีใต้
ยุนกล่าวว่า ข้อตกลงฉบับใหม่นี้เป็นการขยายและเสริมความแข็งแกร่งอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนของกลยุทธ์ทางทหารระดับทวิภาคี ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่เกาหลีเหนือยังคงเดินหน้าทดสอบอาวุธที่มีความอันตราย โดยเฉพาะอาวุธล่าสุดที่มีการเปิดเผยออกมา นั่นคือ ขีปนาวุธข้ามทวีปที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง
“ประธานาธิบดีไบเดนได้ยืนยันถึงความมุ่งมั่นอย่างแข็งกร้าวที่จะยืดเวลาการป้องปรามให้กับสาธารณรัฐเกาหลี” ยุนกล่าว
เขาเสริมว่า“สันติภาพที่ยั่งยืนบนคาบสมุทรเกาหลีไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ทั้งสองประเทศตกลงที่จะจัดให้มีการปรึกษาหารือระดับประธานาธิบดีได้โดยทันทีในกรณีที่เกาหลีเหนือโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยสัญญาว่าจะตอบโต้อย่างรวดเร็ว รุนแรง และเด็ดขาด โดยใช้กองกำลังพันธมิตรอย่างเต็มที่ ซึ่งรวมถึงอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ”
นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศจะจัดตั้ง “กลุ่มที่ปรึกษาด้านนิวเคลียร์” เพื่อแบ่งปันกลยุทธ์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ โดยจะหารือเกี่ยวกับวิธีการวางแผนและปฏิบัติการร่วมที่รวมพลังของกองกำลังดั้งเดิมที่ทันสมัยของเกาหลีใต้เข้ากับความสามารถด้านนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ
ด้านไบเดนกล่าวว่า แม้ว่าข้อตกลงจะเพิ่มความร่วมมือในกรณีที่เกาหลีเหนือโจมตี แต่เขาจะเป็น “ผู้ถืออำนาจแต่เพียงผู้เดียว” ในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ
“การโจมตีด้วยนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือต่อสหรัฐฯ หรือพันธมิตรเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ … ผมมีอำนาจเด็ดขาดและมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการยิงอาวุธนิวเคลียร์ แต่ความหมายของคำประกาศคือ เราจะปรึกษากับพันธมิตรของเรา หากการดำเนินการใด ๆ ได้รับการร้องขอ” ไบเดนกล่าว
เขาเสริมว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น การปรึกษาหารือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น และเราจะไม่ส่งอาวุธนิวเคลียร์ไปประจำการบนคาบสมุทรเกาหลี แต่เราจะมีการเยี่ยมเยียน นำเรือดำน้ำนิวเคลียร์ไปจอดเทียบท่า เยี่ยมชมท่าเรือ และอะไรทำนองนั้น”
เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯ นายหนึ่งกล่าวว่า การส่งเรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์ไปแวะเวียนคาบสมุทรเกาหลีนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1991 หรือ 30 กว่าปีมาแล้ว
ผู้นำยูเครน-จีนยกหูคุยครั้งแรกตั้งแต่รัสเซียรุกราน
ขีปนาวุธเชื้อเพลิงแข็ง อาวุธใหม่เกาหลีเหนือ รับมือสหรัฐฯ-พันธมิตร
เกาหลีเหนือทดสอบ “โดรนนิวเคลียร์ใต้น้ำ” รอบสอง อ้างแล่นได้ไกล 1,000 กม.
เขาอธิบายว่า นี่จะเป็นส่วนหนึ่งของ “ทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์” ที่จะอยู่ใกล้เกาหลีใต้ เพื่อให้การป้องปรามของเราชัดเจนยิ่งขึ้น” โดยนอกจากเรือดำน้ำนิวเคลียร์แล้ว จะมียุทโธปกรณ์อื่น เช่น เครื่องบินทิ้งระเบิด เรือบรรทุกเครื่องบิน คอยแวะเวียนไปยังเกาหลีใต้ด้วย
ก่อนหน้านี้ เรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ เข้าเทียบท่าในเกาหลีใต้บ่อยครั้งในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ที่มีสงครามเย็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สหรัฐฯ มีหัวรบนิวเคลียร์หลายร้อยลูกประจำการในเกาหลีใต้
ในปี 1991 สหรัฐอเมริกาถอนอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดออกจากคาบสมุทรเกาหลี และในปีต่อมา เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือก็ได้ลงนามในข้อตกลงให้คำมั่นว่า “จะไม่ทดสอบ ผลิต สร้าง รับ ครอบครอง จัดเก็บ หรือใช้อาวุธนิวเคลียร์”
แต่เนื่องจากเกาหลีใต้ละเมิดข้อตกลงดังกล่าวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จึงมีการสนับสนุนเพิ่มขึ้นในเกาหลีใต้ให้สหรัฐฯ นำอาวุธนิวเคลียร์มาประจำการในประเทศอีกครั้ง
ผลสำรวจที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 เมษายน โดยสถาบันอาซานเพื่อการศึกษานโยบาย พบว่า ปัจจุบัน ชาวเกาหลีใต้ 64% สนับสนุนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และอีก 33% ไม่เห็นด้วย
ในขณะเดียวกัน การทดสอบอาวุธขั้นสูงของเกาหลีเหนือ ซึ่งรวมถึงการทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีปที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งเป็นครั้งแรกเมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ ได้สร้างความกังวลมากขึ้น การทดสอบดังกล่าวถูกมองว่า เป็นความพยายามของเกาหลีเหนือในการจัดหาอาวุธที่ทรงพลังและตรวจจับได้ยากขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ มีแต่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง
ดีเร็ก จอห์นสัน จาก Global Zero ซึ่งเป็นกลุ่มสนับสนุนการลดอาวุธ กล่าวว่า ศักยภาพของการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ มีแต่จะเพิ่มความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี
“อาวุธนิวเคลียร์เป็นบ่อเกิดของความไม่มั่นคงทั่วโลก และเป็นหัวใจของวิกฤตบนคาบสมุทรเกาหลี การเพิ่มอาวุธเหล่านี้เข้าไปในสมการ แม้เป็นการชั่วคราว จะไม่ทำให้สหรัฐฯ หรือเกาหลีใต้ปลอดภัยหรือปลอดภัยมากขึ้น สิ่งนี้มีแนวโน้มที่จะทำให้แรงกดดันในภูมิภาครุนแรงขึ้น แทนที่จะบรรเทาลง ซึ่งอาจลุกลามกลายเป็นหายนะได้ทุกเมื่อ” จอห์นสันกล่าว
เรียบเรียงจาก Al Jazeera / The Guardian
ภาพจาก AFP